Contact us

กองทุนโครงการผ่าตัดต้อกระจกเฉลิมพระเกียรติฯ

D003283

         โครงการผ่าตัดต้อกระจกในพื้นที่ห่างไกล ของภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เริ่มดำเนินการครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2548 บนแนวคิดที่ว่า โรคต้อกระจกเป็นโรคทางตาที่ทำให้มีการสูญเสียการมองเห็นที่พบได้บ่อยที่สุดในประเทศไทย โดยโรคต้อกระจกสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดต้อกระจกด้วยวิธีใช้คลื่นความถี่สูงได้มีการพัฒนาวิธีการผ่าตัดอย่างต่อเนื่องจนทำให้การผ่าตัดทำได้ง่ายขึ้น และผลการผ่าตัดดีมาก โดยมีระยะเวลาการพักฟื้นสั้น ภาวะแทรกซ้อนน้อย แต่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่ทันสมัย และมีค่าใช้จ่ายสูง โดยเมื่อประมาณ 15 ปีก่อน การผ่าตัดต้อกระจกด้วยวิธีนี้ยังมีผู้เชี่ยวชาญในประเทศไทยไม่มากนัก จักษุแพทย์มีจำนวนน้อย เนื่องจากผู้ป่วยต้อกระจกมีจำนวนมาก ระยะการรอคอยการเข้ารับการผ่าตัดนาน ทำให้ผู้ป่วยต้อกระจกในพื้นที่ห่างไกลมีคุณภาพชีวิตลำบาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงคุณไธวดี ดุลยจินดา ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ชักชวนอาจารย์แพทย์ในภาควิชา ฯ และพยาบาลจักษุ จัดทีมจิตอาสาออกหน่วยแพทย์อาสาไปทำการผ่าตัดต้อกระจกในพื้นที่ที่มีระยะเวลาการรอคอยการผ่าตัดต้อกระจกนาน โดยใช้วันเสาร์ อาทิตย์ เป็นหลัก โดยไม่ได้คิดค่าใช้จ่ายกับผู้ป่วย หรือโรงพยาบาลที่ไปออกหน่วย หากมีผู้ให้การสนับสนุนและงบประมาณเหลือก็จะมอบให้โรงพยาบาลนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป เช่น การสร้างโรงอาหารให้ผู้ป่วย การติดตั้งเครื่องปรับอากาศในห้องผ่าตัด เป็นต้น เมื่อประเทศไทยมีการใช้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (โครงการ 30 บาท) จำนวนผู้ป่วยต้อกระจกที่รอการผ่าตัดลดลง แต่ก็ยังมีพื้นที่ห่างไกลที่ไม่มีจักษุแพทย์ หรือมีจักษุแพทย์ไม่เพียงพอ หน่วยผ่าตัดต้อกระจกนี้ก็ยังมีความจำเป็นต้องดำเนินต่อไป นอกจากจะได้ช่วยผ่าตัดต้อกระจกในผู้ป่วยยากไร้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลแล้ว หน่วยผ่าตัดต้อกระจกนี้ ยังได้ปลูกฝังจิตสำนึกของการเป็นแพทย์จิตอาสาให้กับแพทย์ฝึกหัดทางจักษุที่ร่วมโครงการด้วย ซึ่งแพทย์ฝึกหัดเหล่านี้ เมื่อจบไปทำงานจริงก็จะมีประสบการณ์ในการจัดตั้งหน่วยผ่าตัดต้อกระจกในพื้นที่รับผิดชอบของตนเองในอนาคตได้อีกด้วย

 

         ทีมออกหน่วยผ่าตัดต้อกระจกเพื่อผู้ป่วยยากไร้ทุกครั้งเป็นอาสาสมัครทุกคนประกอบด้วย จักษุแพทย์ 4 – 10 ท่าน โดยเป็นอาจารย์แพทย์อาสาสมัครจากภาควิชา ฯ จักษุแพทย์ที่เป็นศิษย์เก่า ตลอดจนจักษุแพทย์ในพื้นที่ โดยมีกำลังหลักที่ไปออกหน่วยเกือบทุกครั้งประกอบด้วย

1. ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงคุณไธวดี ดุลยจินดา

2. รองศาสตราจารย์นายแพทย์นริศ กิจณรงค์

3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์พิทยา ภมรเวชวรรณ

4. พยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลผ่าตัดจักษุ 8 – 15 ท่าน ทั้งจากศิริราช และพยาบาลในพื้นที่

5. เจ้าหน้าที่วัดสายตา วัดค่าเลนส์เทียม

6. เจ้าหน้าที่จากบริษัทเครื่องมือแพทย์ที่ให้การสนับสนุนเครื่องมือต่าง ๆ

7. ผู้ให้การสนับสนุนงบประมาณ

 

ข้อมูลการออกหน่วยผ่าตัดต้อกระจกเพื่อผู้ป่วยยากไร้ในพื้นที่ห่างไกล

ของภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

วันที่

สถานที่

จำนวนผู้ป่วย (ราย)

29 เมษายน – 4 มิถุนายน 2548

โรงพยาบาลบ้านไร่ จ.อุทัยธานี

200

29 – 30 มิถุนายน 2548

โรงพยาบาลบ้านไร่ จ.อุทัยธานี

61

31 กรกฎาคม – 5 สิงหาคม 2548

โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์

250

23 – 27 พฤศจิกายน 2548

โรงพยาบาลบ้านเหลื่อม จ.นครราชสีมา

100

21 – 25 ธันวาคม 2548

โรงพยาบาลอำเภอเพทาย จ.นครราชสีมา

134

9 – 12 มีนาคม 2549

โรงพยาบาลวัดสิงห์ จ.ชัยนาท

200

28 – 30 มิถุนายน 2549

โรงพยาบาลด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี

150

10 – 11 ธันวาคม 2550

โรงพยาบาลบัวใหญ่ จ.นครราชสีมา

120

22 – 24 มีนาคม 2552

โรงพยาบาลคลองใหญ่ จังหวัดตราด

61

15 – 18 ธันวาคม 2553

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

182

4 – 7 กุมภาพันธ์ 2555

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

69

7 – 11 กุมภาพันธ์ 2556

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

89

9 – 12 มกราคม 2557

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

116

26 กุมภาพันธ์ – 2 มีนาคม 2557

โรงพยาบาลคลองใหญ่ จังหวัดตราด

182

20 – 24 กุมภาพันธ์ 2558

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

200

2 – 4 พฤษภาคม 2558

โรงพยาบาลท่ากระดาน จังหวัดกาญจนบุรี

49

27 – 29 กันยายน 2558

โรงพยาบาลหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี

80

16 – 19 มกราคม 2559

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

302

26 – 29 พฤศจิกายน 2559

โรงพยาบาลคลองใหญ่ จังหวัดตราด

130

3 – 6 กุมภาพันธ์ 2560

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

122

25 – 28 สิงหาคม 2560 

โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย  จังหวัดสุโขทัย

166

26 – 29 มกราคม 2561

โรงพยาบาลอุตรดิตถ์  จังหวัดอุตรดิตถ์

139

6 – 9 กรกฎาคม 2561

 

โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามราชกุมารี จังหวัดระยอง

165

 

11 – 14 มกราคม 2562

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

137

22 – 27 พฤษภาคม 2562

โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์

150

24 – 25 สิงหาคม 2562

โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี

80

6 – 9 พฤศจิกายน 2563

โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย  จังหวัดสุโขทัย

162

11 – 14 พฤศจิกายน 2565

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์

227

17 -20 กุมภาพันธ์ 2566

โรงพยาบาลวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์

241

10 – 13 พฤศจิกายน 2566

โรงพยาบาลชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

230

27 – 28 มกราคม 2567

โรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

135

 

        การผ่าตัดต้อกระจกสำหรับผู้ป่วยยากไร้ในพื้นที่ห่างไกล ทำให้ผู้ป่วยต้อกระจกสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้มากขึ้น ลดระยะเวลาการรอคอยการผ่าตัด ช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากต้อกระจกได้โดยเฉพาะโรคต้อหิน ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถดูแลตนเองและครอบครัวได้ ลดการเป็นภาระของครอบครัวและสังคม

 

Other donation channels

Donors can donate through Siriraj Foundation’s website or check other donation channels For example, monthly direct debit donations, self-donation, etc.

See all donation channels

กองทุนโครงการผ่าตัดต้อกระจกเฉลิมพระเกียรติฯ

Amount of Donation (Baht)

(mininum amount for tax receipt is 100 Baht)

กองทุนเพื่อผู้ป่วยโรคติดต่อ

Urgent

Disadvantaged patients

D004307

เพื่อปกป้องและป้องกันกลุ่มเป้าหมายเยาวชนและประชาชนไทยจากการติดเชื้อเอชไอวี โดยมุ่งเน้นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ให้การปรึกษา จัดส่งชุดตรวจหาเชื้อเอชไอวีด้วยตนเอง เชื่อมต่อสู่สถานพยาบาล

กองทุนเพื่อการรักษาผู้ป่วยด้อยโอกาสที่มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เทคโนโลยีขั้นสูง

Urgent

Disadvantaged patients

D707070

เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วยของโรงพยาบาลศิริราชที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการรักษา

en_USEnglish